ศาสตร์แพทย์ของจีนเป็นการดูแลความสัมพันธ์ของร่างกายแบบองค์รวม ระบบการทำงานต่างๆในร่างกายต้องเป็นไปตามระบบและสมดุล จะไม่ก่อให้เกิดโรค
เราทำความรู้จักระบบนาฬิกาชีวิตของแพทย์แผนจีน ซึ่งจะแบ่ง 1 วัน เป็น 12 ชั่วยาม (1ชั่วยาม=2 ชั่วโมง) ดังนี้
1.ยามจื่อ คือเวลา 23.00-01.00 น.
เป็นเวลาทำงานของ “ถุงน้ำดี” ที่มีหน้าที่เก็บน้ำดีและช่วยย่อยไขมันในลำไส้เล็ก ไขกระดูกจะเรื่องสร้างเลือดและซ่อมแซม ช่วงเวลานี้จึงควรเป็นเวลาของการ “นอน”
2.ยามโฉ่ว คือเวลา 01.00-03.00 น.
เป็นเวลาที่ “ตับ” กำจัดสารพิษในร่างกาย ในช่วงเวลา02.00 น.ร่างกายจะหลั่งสารเมลาโทนินได้สูงสุด หากไม่สามารถนอนหลับ ทำให้เกิดสีหน้าหมองคล้ำ เกิดกระ จุดด่างดำ อารมณ์ร้อน โกรธง่าย
3.ยามอิ่น คือเวลา03.00-05.00 น.
เป็นเวลาของ “ปอด” หากนอนหลับได้ลึกจะทำให้เรามีใบหน้าที่สดใส มีเลือดฝาด กระปรี้กระเปร่า
4.ยามเหม่า คือเวลา 05.00-07.00 น.
เป็นเวลาของ “ลำไส้ใหญ่” ทำงาน เป็นช่วงที่ตื่นขึ้นมาเพื่อขับถ่ายของเสีย ลดการสะสมสารพิษในร่างกาย
5.ยามเฉิน คือเวลา 07:00-09:00 น.
เป็นเวลาที่ “กระเพาะอาหาร”ทำงาน อาหารมื้อเช้าจึงเป็นมื้อที่สำคัญเพราะเป็นการเติมพลังให้กับสมองและหัวใจให้สามารถไปสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้
6.ยามซื่อ คือเวลา 09.00-11.00 น.
เป็นเวลาของ “ม้าม” ร่างกายจะมีการตื่นตัวมากที่สุดจึงเป็นช่วงเวลาที่แห่งการทำงาน และควรการดื่มน้ำเพื่อไปช่วยให้ม้ามทำงานได้ดียิ่งขึ้น
7.ยามอู่ คือเวลา 11:00 น.-13:00 น.
ในช่วงเวลาที่ “หัวใจ”ทำหน้าที่ จึงควรนอนพักในช่วงเวลากลางวันประมาณ 15-30 นาทีเพื่อเป็นการบำรุงหัวใจ
8.ยามเว่ย คือเวลา 13.00-15.00 น.
เป็นเวลาที่ “ลำไส้เล็ก” ทำหน้าที่ดูดซึมสารอาหารและนำกากอาหารจะถูกส่งต่อไปยังลำไส้ใหญ่
9.ยามเซิน คือเวลา 15.00-17.00 น.
เป็นเวลาของ “กระเพาะปัสสาวะ” เป็นเวลาที่ดีที่สุดในการดื่มน้ำและขับปัสสาวะ ในเวลา 17:00 น. เป็นช่วงที่หลอดเลือดหัวใจและกล้ามเนื้อในร่างกายมีความแข็งแรงมากที่สุดจึงเหมาะแก่การออกกำลังกาย
10.ยามโหย่ว คือเวลา 17:00-19:00 น.
เป็นเวลาที่ “ไต” ทำหน้าที่ จึงควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็ม
11.ยามซวี คือเวลา 19.00-21.00 น.
เป็นเวลาของ “เยื่อหุ้มหัวใจ” จึงไม่ควรรับประทานอาหารเย็นจนอิ่มเกินไปและเป็นช่วงเวลาแห่งการผ่อนคลาย รักษาอารมณ์ให้ดีอยู่เสมอ เพื่อเตรียมตัวนอน
12.ยามไฮ่ คือเวลา 21:00-23:00 น.
เป็นเวลาที่อวัยวะต่างๆทั่วร่างกายทำงาน ปรับสมดุล การนอนในยามนี้จะทำให้เรามีสุขภาพแข็งแรง
หากเราเข้าใจระบบการทำงานของร่างกาย ทราบว่าเวลาไหนสัมพันธ์กับอวัยวะส่วนใด จะช่วยให้เราปรับการใช้ชีวิตให้สัมพันธ์ ทำให้ร่างกายสมดุล เป็นการดูแลสุขภาพให้แข็งแรง