โกฐเชียง (ตังกุย) สมุนไพรบำรุงเลือด

973

โกฐเชียง (ตังกุย) เป็นไม้ล้มลุก รากอวบหนา แตกเป็นแขนง มีกลิ่นฉุน รสหวานออกขม และเผ็ดเล็กน้อย มีฤทธิ์อุ่น มีสรรพคุณเป็น สมุนไพรบำรุงเลือด ทำให้เลือดหมุนเวียน บำรุงโลหิต รักษาโรคเลือดในระบบหัวใจและตับพร่อง ได้แก่ อาการหน้าซีดเหลือง วิงเวียน ใจสั่น การไหลเวียนของเลือดติดขัด ได้แก่อาการประจำเดือนมาไม่ปกติ ปวดท้องขณะมีประจำเดือน และอาการเลือดพร่องต่างๆ เช่น มีอาการเลือดคั่ง ฟกช้ำ ปวดไขข้อ ปวดเมื่อยตามร่างกาย ส่วนที่นำมาทำเป็นสมุนไพรนั้น นิยมนำรากของต้นโกฐเชียงมาทำเป็นยาฟอกเลือด ส่วนกลางลำต้นนำมาทำเป็นยาบำรุงเลือด

โกฐเชียง เป็นสมุนไพรบำรุงเลือดที่อุดมไปด้วยวิตามินบี 12 ไบโอติน (วิตามินบี 7) กรดโฟลิก (วิตามินบี 9) กลุ่มวิตามินบี สามารถแบ่งหน้าที่หลักในร่างกายได้ 2 กลุ่ม คือวิตามินบี 1 วิตามินบี2 วิตามินบี 6 ไบโอติน ไนอาซินและกรดแพนโนเทนิก จะเกี่ยวข้องกับระบบเผาผลาญพลังงาน ส่วนอีกกลุ่มคือวิตามินบี12 และกรดโฟลิก จะเกี่ยวข้องกับการสร้างเม็ดเลือด การสร้างดีเอ็นเอ อาร์เอ็นเอ ซึ่งทั้งวิตามินบี 12 และกรดโฟลิก จะทำงานเสริมซึ่งกันและกัน หากขาดตัวใจตัวหนึ่งจะมีผลต่อการทำงานของอีกตัว และเกิดภาวะโลหิตจางได้

โกฐเชียงถูกบรรจุอยุ่ในบัญชียาจากสมุนไพร (สมุนไพรบำรุงเลือด) ตามประกาศคณะกรรมการแห่งชาติด้านยา ว่ามีการใช้ประโยชน์จากโกฐเชียงสำหรับรักษาโรคในระบบต่างๆของร่างกายรวม 3 ระบบ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือระบบไหลเวียนโลหิต (แก้ลม) และพบว่าโกฐเชียงเป็นส่วนหนึ่งในตำรับยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณตามประกาศกระทรวงสาธารณะสุขเมื่อปี 2537 เช่นตำรับยาหอมเทพจิตร และตำรับยาหอมเนาวโกฐ ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ

โกฐเชียงถูกบรรจุอยู่ในพิกัดเบญจโกฐ คือ จำกัดจำนวนตัวย่าที่มีชื่อว่าโกฐ 5 อย่างคือ โกฐสอ โกฐเขมา โกฐหัวบัว โกฐจุฬาลัมพาและโกฐเชียง อันมีสรรพคุณบำรุงโลหิต ชูกำลัง แก้ลมในกองธาตุ เป็นต้น และในพิกัดสัตตะโกฐ คือตัวยาที่มีโกฐ 7 อย่าง มีสรรพคุณบำรุงโลหิต ชูกำลัง แก้ลมกองในธาตุ

สรรพคุณ บำรุงโลหิต ช่วยให้เจริญอาหาร นั้น โกฐเชียงจึงนิยมจ่ายสมุนไพชนิดนี้ให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็ง ซึ่งมักจะมีอาการเบื่ออาหาร โลหิตจาง และหลังจากได้รับคีโมจะมีอาการเบื่อาหารและซีด นอกจากนี้คนปกติก็สามารถทานโกฐเชียงได้ เช่นกันคะ นอกจากนี้โกฐเชียงยังช่วยลดอัตราเสี่ยงในการเกิดความผิดปกติในระบบทางเดินปัสสาวะ ระบบหลอดเลือดและหัวใจ โดยจะช่วยให้โลหิตไหลเวียนได้ดี สำหรับสุภาพสตรีก็จะส่งผลให้ผิวพรรณดูมีเลือดฝาด มีน้ำมีนวล ขึ้น

นอกจากนี้การรับประทานสมุนไพรบำรุงเลือดแล้ว การรู้จักช่วงเวลาทำงานของอวัยวะในร่างกายของเรา ที่เรียกว่า “นาฬิกาชีวิต” ก็จะช่วยเสริมในเรื่องการบำรุงโลหิตได้ ตามแนวทางรักษาของแพทย์แผนจีน แนะนำไว้ว่า

ช่วงเวลา 17.00-19.00 น. เป็นช่วงเวลาการทำงานของไต เราไม่ควรรับประทานอาหารมาก เพราะทำให้เลือดจะถูกดึงกลับไปเลื้ยงที่กระเพาะและม้ามแทนที่จะถูกส่งไปเลี้ยงที่ไต ที่จะทำหน้าที่กรองของเสียออกจากเลือด

และ ในช่วงเลา 23.00-01.00 น. เป็นช่วงเวลาการทำงานของถุงน้ำดี และเวลา 01.00-03.00 น.เป็นช่วงเวลาการทำงานของตับ ซึ่งมีหน้าที่เก็บเลือด จึงเป็นช่วงเวลาที่ต้องพักผ่อนนอนหลับ หากพักผ่อนไม่เพียงพอ อาจส่งให้เกิดปัญหาการสร้างและเก็บกักโลหิตได้

อย่างไรก็ตาม นอกจากบำรุงเลือดด้วยสมุนไพรแล้ว ยังจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือหลีกเลี่ยงปัจจัยที่ส่งผลต่อโลหิต เช่น การจำกัดอาหาร ทำให้ร่างกายขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อการสร้างโลหิต การนอนดึกก็จะส่งผลต่ออวัยวะที่มีส่วนในการสร้างเลือด อย่าง ตับ ไต ปอด ทำให้ทำงาน ควรหันมาทานอาหารที่ช่วยบำรุงโลหิต อย่าง พุทราจีน ถั่วแดง อาหารที่ทีฤทธิ์ร้อนเล็กน้อย จะช่วยเรื่องการไหลเวียนโลหิต และสิ่งที่ขาดไม่ได้คือการออกกำลังกายที่สม่ำเสมอ คะ