โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งที่พบบ่อยของคนไทย

735

มะเร็ง คือ โรคที่เกิดจากความผิดปกติในระดับเซลล์ เซลล์มะเร็งคือเซลล์ที่มีความผิดปกติและมีการแบ่งตัวโดยที่ร่างกายไม่สามารถควบคุมได้ ทำให้เกิดเป็นก้อนเนื้อ นอกจากนี้ยังสามารถลุกลามไปยังเนื้อเยื่อข้างเคียงและแพร่กระจายไปส่วนต่างๆของร่างกายผ่านทางต่อมน้ำเหลืองหรือเลือด โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ จึงเป็นมะเร็งที่เกิดขึ้นจากเซลล์เยื่อบุลำไส้ใหญ่อันเป็นทางเดินอาหารส่วนปลายลำไส้ใหญ่แบ่งได้ 2 ส่วนคือ ลำไส้โคลอน (Colon) และลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย เรคตั้ม (Rectum)

อาการของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

เนื่องจากอาการของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่มีความคล้ายคลึงกับอาการของโรคอี่นๆ เช่น ท้องเสีย ท้องผูก ท้องอืด อุจจาระปนเลือดสดๆ อุจจาระเรียวยาวกว่าปกติ อาหารไม่ย่อย น้ำหนักตัวลด อ่อนเพลีย และโลหิตจาง ซึ่งวิธีที่ดีที่สุดคือควรพบแพทย์เมื่อมีอาการดังที่กล่าวมาคะ มะเร็งลำไส้ใหญ่สามารถเกิดขึ้นได้ จากการถ่ายทอดกรรมพันธุ์ อาจเกิดขึ้นเองเนื่องจากเซลล์แบ่งตัวเป็นเซลล์ผิดปกติ และอาจ ไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรค

ระยะของมะเร็งลำไส้ใหญ่

ระยะของมะเร็งลำไส้ใหญ่แบ่งได้ตามการเจริญเติบโตของเนื้อมะเร็งจากผนังลำไส้แพร่กระจายสู่ต่อมน้ำเหลืองและอวัยวะอื่นๆ แบ่งเป็น

  • ระยะที่ 0 เซลล์ผิดปกติเกิดขึ้นบริเวณชั้นผิวเยื่อบุลำไส้ใหญ่เท่านั้น
  • ระยะที่ 1 เซลล์มะเร็งแพร่มายังเนื้อเยื้อในชั้นกลาง
  • ระยะที่ 2 เซลล์มะเร็งแพร่ผ่านเนื้อเยื่อชั้นกลางของผนังลำไส้ใหญ่หรือไปยังเนื้อเยื่อใกล้ลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย หรือไปยังเนื้อเยื่อบุในช่องท้อง
  • ระยะที่ 3 เซลล์มะเร็งแพร่เข้าเนื้อเยื่อในชั้นกลางของผนังลำไส้และลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลืองและอวัยวะใกล้เคียง
  • ระยะที่ 4 เซลล์มะเร็งแพร่ไปยังอวัยวะที่ห่างไกลเช่น ตับ ปอด เป็นต้น

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ได้แก่ เคยมีประวัติเนื้องอกในลำไส้ อายุมากกว่า 50 ปี (ซึ่งพบได้มากถึง 90 เปอร์เซ็นต์ ) ครอบครัวมีประวัติเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่หรือมีประวัติเคยเป็นมะเร็งชนิดอื่นมาก่อน มีประวัติเป็นโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง ( IBD) และมาจากการดำเนินชีวิตประจำวันเช่น การรับประทานอาหารที่มีปริมาณไขมันสูงๆ ไม่ออกกำลังกาย ท้องผูกบ่อยๆ สูบบุหรี่ เป็นต้น

การรักษาในปัจจุบัน

ปัจจุบันนี้เราสามารถตรวจเบื้องต้นภาวะการเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้แล้วนะคะ ซึ่งเป็นวิธีที่ช่วยป้องกันการเกิดโรคและทำให้เราสามารถรักษาได้ทันเวลา ไม่ปล่อยให้ก้อนเนื้อกลายเป็นมะเร็ง วิธีตรวจประเมิน เช่น การตวรจเลือดในอุจจาระ (FOB) ควรทำเป็นประจำทุกปี สามารถลดการเกิดโรคได้ถึง 18% , การส่องกล้องตรวจลำไส้หรือการใช้เครื่องมือซิกมอยด์โดสโคป (Sigmoidoscope) วิธีนี้หากพบก้อนเนื้อก็สามารถตัดออกมาตรวจได้ทันที และการใช้สารทึบแสงแบเรียมร่วมกับทีซีสแกน (TC Scan) จะใช้หากผู้ป่วยไม่สามารถส่งกล้องได้

โรคมะเร็งลำไส้หากตรวจพบตั้งแต่เป็นเนื้องอกธรรมดาก็จะทำการผ่าตัดเอาก้อนเนื้อออก และถ้าก้อนเนื้อกลายเป็นมะเร็งแล้ว ก็ต้องทำการผ่าตัดเอาก้อนเนื้อออกเช่นกัน แต่จะมีขั้นตอนการรักษาด้วยการให้เคมีบำบัด เมื่อผู้ป่วยระยะที่มะเร็งแพร่กระจายเข้าต่อมน้ำเหลือง หรืออวัยวะใกล้เคียงแล้ว เป็นการกำจัดเซลล์มะเร็งที่อยู่ในร่างกายส่วนต่างๆ เพื่อลดโอกาสการกลับมาเป็นซ้ำของโรคและเพื่อช่วยรักษาชีวิตของผู้ป่วยให้มีชีวิตที่ยื่นยาวได้อีกด้วยคะ หลังจากผ่านการรักษาเรียบร้อยแล้ว ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการตรวจเป็นระยะๆ ทุก 3 เดือนในช่วง 2 ปีแรก และห่างเป็นทุก 6 เดือนในช่วง 5 ปี หลัง คะ

โรคมะเร็งลำไส้อาจสัมพันธ์กับการขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย หากเราถ่ายอุจจาระวันละครั้ง จะเป็นมะเร็งเมื่ออายุประมาณ 63 ปี และถ้าเราถ่ายอุจจาระวันละ 2 ครั้ง จะมีโอกาสเป็นมะเร็งเมื่ออายุ 126 ปี ด้วยเหตุนี้การรับประทานกากใยอาหารให้มาก ดื่มน้ำใหเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ออกกำลังกาย ก็สามารถยืดเวลาการเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้คะ