การควบคุมระดับ..น้ำตาลในเลือด ป้องกันน้ำตาลในเลือดสูง

623

การควบคุมระดับ น้ำตาลในเลือด ไม่ให้น้ำตาลในเลือดสูง ของร่างกายเรานั้นควบคุมโดยฮอร์โมนหลักที่เรียกว่า อินซูลิน ฮอร์โมนชนิดนี้ผลิตจากบีตาเซลล์ในตับอ่อน ที่ทำงานร่วมกับ กลูคากอน (Glucagon) และฮอร์โมนอื่นๆ ได้แก่ โกรทฮอร์โมน คอร์ติซอล และแคทิคอลามีน

อินซูลิน ควบคุมน้ำตาลในกระแสเลือดผ่านการออกฤทธิ์ที่เซลล์ 3 ชนิด คือ เซลล์ตับ เซลล์กล้ามเนื้อลาย และเซลล์ไขมัน อินซูลินจะออกฤทธิ์มากน้อยขึ้นอยู่กับระดับความเข้มข้นของอินซูลินที่มีอยู่ในขณะนั้น เช่น อินซูลินจะสูงขึ้นทันทีหลังการรับประทานอาหารเพื่อสอดรับกับระดับน้ำตาบในเลือดที่สูงบขึ้น เรียกว่า ระดับอินซูบินสูงสุด และอินซูลินจะลดลงอย่างรวดเร็วหลังการดูดซึมน้ำตาลจากทางเดินอาหารจบสิ้น อินซูลินระดับพื้นฐาน จะเป็นช่วงที่ร่างกายเราไม่ได้ย่อยอาหารและขณะอดอาหาร เช่น เวลากลางคืนขณะนอนหลับ ตับอ่อนจะหลั่งอินซูลินปริมาณน้อยๆ

การควบคุมน้ำตาลจากการรับประทานอาหาร น้ำตาลในร่างกายอาจเกิดจากการรับประทานอาหารที่มีส่วนเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด ด้วยเหตุนี้เราสามารถควบคุมระดับน้ำตาล ได้โดยการควบคุมอาหารที่รับประทานในแต่ละมื้อให้เหมาะสม เมื่อร่างกายได้รับประทานอาหารจะทำการย่อยให้เป็นน้ำตาลกลูโคส แล้วน้ำตาลกลูโคสจะซึมผ่านเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตเป็นอาหารที่รับประทานกันเป็นประจำทุกมื้อซึ่งคาร์โบไฮเดรตเมื่อถูกย่อยก็จะได้น้ำตาลกลูโคส คาร์โบไฮเดรตชนิดดีนั้นต้องได้จากธรรมชาติ ได้แก่ ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ขนมปังโฮลวีท ธัญพืชต่าง ส่วนคาร์โบไฮเดรตชนิดเลวจะสลายตัวได้ง่ายจึงทำให้ถูกดูดซึมได้เข้าสู่ร่างกายได้เร็ว เช่น น้ำตาลทรายขาว น้ำผึ้ง แลคโตส น้ำตาลในนม น้ำตาลในผลไม้ ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีใยอาหารสูงๆ อย่างผัก เพราะใยอาหารจะช่วยชะลอการย่อยและการดูดซึมคาร์โบไฮเดรต เป็นการควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีมากขึ้น

การออกกำลังกาย เป็นการใช้กล้ามเนื้อให้เกิดการเคลื่อนไหวของกระดูก ข้อต่อของร่างกาย ต้องใช้พลังงานที่ได้จากน้ำตาลกลูโคสที่สะสมอยู่ภายในเซลล์ของกล้ามเนื้อในรูปแบบของไกลโคเจน เมื่อไกลโคเจนในกล้ามเนื้อลดลง ร่างกายจะใช้พลังงานจากน้ำตาลในกระแสเลือดเป็นอันดับต่อไป จึงทำให้เป็นการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ เมื่อออกกำลังกายเสร็จ ร่างกายก็จะจัดการกับน้ำตาลในเลือดให้เข้าไปแทนที่น้ำตาลที่เคยมีอยู่ในกล้ามเนื้อ และตับ เพื่อเป็นการชดเชยที่ดึงน้ำตาลมาใช้นั้นเอง สำหรับผู้ป่วยเบาหวานในช่วงแรกของการออกกำลังกาย ร่างกายจะใช้น้ำตาลพิ่มขึ้น อินซูลินจะลดปริมาณการผลิตลงเพื่อรักษาให้ระดับน้ำตาลไม่ต่ำจนเกินไป เมื่อเวลาผ่านไปร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนที่มีฤทธิ์ต้านอินซูลิน อย่าง กลูคากอนและแคธิคอลามีน ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นและช่วยสลายไขมันให้เปลี่ยนเป็นพลังงานในการออกกำลังกาย อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำหรือสูงกว่าปกติขึ้นอยู่กับประเภทเบาหวานคะ มีการวิจัยเป็นที่ยอมรับว่าการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอในผู้ป่วยเบาหวานโดยเฉพาะผู้ป่วยที่ไม่ต้องฉีดอินซูลิน สามารถเพิ่มการทำงานของอินซูลินที่มีอยู่ในร่างกายได้ ทำให้มีการดึงเอาน้ำตาลไปใช้ได้ดียิ่งขึ้น สำหรับคนที่เป็นเบาหวานหากต้องการออกกำลังควรพกสารที่ให้ความหวานเพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำตาลและไม่ควรออกกำลังกายตามลำพัง

อย่างไรก็ตามการควบคุมระดับ น้ำตาลในเลือด ป้องกันน้ำตาลในเลือดสูงนั้นไม่ได้มีความสำคัญเพียงกับผู้ป่วยโรคเบาหวานเท่านั้น แต่สำหรับบุคคลที่ไม่ได้เป็นโรคเบาหวานก็ควรควบคุมด้วยเช่น เพื่อป้องกันการเกิดโรคเบาหวานในอนาคต การป้องกันเป็นวิธีที่ดีที่สุด ง่ายกว่าการมาตามแก้ไขหรือรักษาโรคภายหลังนะคะ ความหวานเมื่อรับประทานแล้วทำให้เรารู้สึกสดชื่น กระชุ่มกระชวย แต่หากไม่รู้จักควบคุมให้พอดีพอเหมาะ อาจทำให้ทุกข์ได้คะ